แชร์

บทความประเทศเกาหลี

อัพเดทล่าสุด: 21 มี.ค. 2024
208 ผู้เข้าชม

เกาหลีใต้ (อังกฤษ: South Korea; เกาหลี: 한국; ฮันจา: 韓國) ในภาษาเกาหลีอ่านชื่อประเทศว่า ฮันกุก มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเกาหลี (อังกฤษ: Republic of Korea; เกาหลี: 대한민국; ฮันจา: 大韓民國) บางครั้งจะใช้ชื่อว่า นัมฮัน (남한) ที่หมายถึง เกาหลีทางใต้ ส่วนชาวเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัมโชซ็อน (남조선) ที่หมายถึง โชซ็อนใต้ เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมครึ่งส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือซึ่งถูกคั่นด้วยเขตปลอดทหารเกาหลี ทางตะวันตกล้อมรอบด้วยทะเลเหลือง และมีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้ รัฐบาลเกาหลีใต้ยังอ้างสิทธิอันชอบธรรมในการครอบครองดินแดนบริเวณคาบสมุทรและหมู่เกาะใกล้เคียงทั้งหมด เกาหลีใต้มีประชากรประมาณ 52 ล้านคน[11] กว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเขตเมืองหลวงและปริมณฑลซึ่งถือเป็นเขตมหานครมี่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก เกาหลีใต้มีเมืองหลวงคือกรุงโซล และเมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ อินช็อน, ปูซาน และแทกู

คาบสมุทรเกาหลีมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าหนึ่งล้านปี โดยเริ่มมีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่ช่วงยุคหินเก่าตอนต้น ซึ่งพบหลักฐานในบันทึกของจีนเมื่อต้นศตวรรษที่ 7 ภายหลังจากการรวมสามราชอาณาจักรเกาหลีในปลายศตวรรษที่ 7 เกาหลีถูกปกครองโดยราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 9181392) และราชวงศ์โชซ็อน (ค.ศ. 13921897) จักรวรรดิเกาหลีถูกผนวกเข้ากับจักรวรรดิญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1910 และการปกครองของญี่ปุ่นได้สิ้นสุดลงหลังความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมา ประเทศเกาหลีได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ บริเวณตอนเหนือซึ่งถูกครอบครองโดยสหภาพโซเวียตและทางใต้ที่ครอบครองโดยสหรัฐอเมริกา และภายหลังจากความล้มเหลวในการเจรจาเพื่อรวมประเทศ ดินแดนทางใต้ได้กลายเป็นสาธารณรัฐเกาหลีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1948 ในขณะที่ดินแดนทางเหนือได้กลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)

ใน ค.ศ. 1950 การรุกรานของเกาหลีเหนือก่อให้เกิดสงครามเกาหลี นำไปสู่การแทรกแซงของสหประชาชาติที่นำโดยสหรัฐซึ่งสนับสนุนเกาหลีใต้ ในขณะที่เกาหลีเหนือได้รับการสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต ก่อนจะมีการการลงนามสงบศึกใน ค.ศ. 1953 ในระหว่างสงคราม มีประชาชนเสียชีวิตกว่าสามล้านรายและเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก สาธารณรัฐที่หนึ่งซึ่งปกครองโดยอี ซึง-มันถูกก่อตั้งขึ้นจากการถ่ายโอนอำนาจจากกองทัพสหรัฐ และถูกโค่นล้มจากการปฏิวัติเดือนเมษายนใน ค.ศ. 1960 ตามมาด้วยการก่อตั้งสาธารณรัฐที่สองแต่ไม่สามารถอยู่ได้นานเนื่องจากกระแสต่อต้าน ก่อให้เกิดรัฐประหาร 16 พฤษภาคมโดยไม่เสียเลือดเนื้อโดยพัก จ็อง-ฮี และเป็นจุดเริ่มต้นของสาธารณรัฐที่สาม ในช่วงเวลานั้น เศรษฐกิจได้รับการฟิ้นฟู และพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจนกลายเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน" โดยเกาหลีใต้มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เฉลี่ยเติบโตเร็วที่สุดในโลก และแม้จะขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ แต่เกาหลีใต้ก็พัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องจนก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย โดยมีจุดเด่นในด้านการค้าระหว่างประเทศ และการบูรณาการเศรษฐกิจสู่ระดับโลก

หลักสำคัญในการสมัครท่องเที่ยว-เยี่ยมเยือน
  • ผู้สมัครต้องแสดงสถานะ การเงิน การงาน ความสัมพันธ์ในประเทศไทยที่ชัดเจน
  • หากผู้สมัคร มีผู้สนับสนุน (Sponsor) เป็นผู้ออกค่าใช่จ่ายในการเดินทาง ต้องแสดงเอกสารความสัมพันธ์ให้ชัดเจน
  • ทำตามเงื่อนไขในการสมัครประเภทนั่นๆ อย่างเคร่งครัด
  • ในกรณีที่ผู้สมัครมีผู้สนับสนุน (Sponsor) เป็นชาวต่างชาติ(แฟน) ต้องแสดงเอกสาร หลักฐานความสัมพันธ์ ที่น่าเชื่อถือในการพิจารณาต่อสถานทูต
  • หนังสือเชิญ จากผู้สนับสนุน/ พลเมืองประเทศนั้น (Sponsor)
  • ประกันการเดินทาง Travel Insurance (ถ้ากำหนด)

บริการของเรา Our Service
  • ให้คำปรึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับโอกาสที่จะได้รับ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
  • การกำหนดรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการประกอบการยื่นของผู้ยื่นเอกสารและผู้สนับสนุน(Sponsor)
  • ประเมินโอกาส วิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไข
  • การดำเนินขั้นตอนการขอใบเชิญจากผู้เชิญ(Invitation Letter)
  • ตรวจสอบ การแสดงเอกสารการเงิน การงาน และแนวทางแก้ไข
  • การกรอกฟอร์ม จัดเตรียมเอกสาร แนวทางการสัมภาษณ์
  • การเขียนจดหมายอธิบาย ข้อมูล เอกสารให้กับสถานทูต(สำคัญมาก)
  • การแปลเอกสาร รับรองเอกสาร ประกันการเดินทาง จองตั๋วเครื่องบิน โรงแรม
  • การซ้อมสัมภาษณ์
  • นัดหมายยื่นและติดตามผล

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy